ประเภทของจริยธรรม
และคุณลักษณะของจริยธรรม
แบ่งเป็น 2 ประเภท
ดังนี้
1.จริยธรรมภายใน
เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพจิตใจและสภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน อาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็น เช่น
ความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น
2.จริยธรรมภายนอก
เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฎให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน เช่น
ความรับผิดชอบ
ความเป้นระเบียบเรียบร้อย
ความมีวินัย การตรงต่อเวลา สุภาพ
อ่อนน้อม มีมารยาท เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น
คุณลักษณะของจริยธรรม
1.ความรับผิดชอบ (Responsibility)
หมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการปฎิบัติหน้าที่หรือภารกิจต่างๆ ด้วยความผูกพัน ความพากเพียร
และความละเอียดรอบคอบ
ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
ทั้งความพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น
2.ความซื่อสัตย์ (Probity)
หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมและตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา
ใจ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น
3.ความมีเหตุผล (Rationality)
ความสามารถในการใช้ปัญญาในการประพฤติรู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย
มีความยับยั้งชั่งใจโดยไม่ผูกพันกับอารมณ์
และความนยึดมั่นของที่มีอยู่เดิม
ซึ่งอาจผิดได้
4.ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)
ความกตัญญู หมายถึง
ความรู้สึกในการอุปการะคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
กตเวที หมายถึง
การแสดงออกและการตอบแทนบุญคุณ
ดังนั้น ความกตัญญูกตเวที จึงหมายถึง
ความรู้บุญและการตอบแทนผู้อื่นและสิ่งที่มีบุญคุณ
5.ความอุตสาหะ (Perseverance)
หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่ง
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำ ด้วยความขยันขันแข็งกระตือรือร้นอดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย้อท้อ
6.ความสามัคคี (Hermony)
หมายถึง ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
7.ความมีระเบียบเรียบร้อย (Discipline)
การควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคมกฎระเบียบ
ข้อบังคับ กฎหมายและศีลธรรม
8.ความเสียสละ (Sacrifice)
หมายถึง การละละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์ กำลังกาย
และกำลังปัญญาของตน
9.ความประหยัด (Parsimony)
หมายถึง
การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินฐานะของตน
10.ความยุติธรรม (Impartiality)
หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ
จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่มีลำเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
11.ความเมตตากรุณา (Clemency)
หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข
และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์
[
ตอบลบควย
ลบ